เครื่องมือช่าง

มีดกลึงปาดหน้าใช้ในงานกลึงประเภทใดบ้าง

มีดกลึงปาดหน้า

ในการทำงานที่ต้องกลึงงานให้มีรูปร่างลักษณะตามแบบที่กำหนดจำเป็นที่จะต้องอาศัยมีดกลึงที่ทำหน้าที่ตัดเฉือนออกในขณะหมุนงาน ซึ่งมีดกลึงจะมีลักษณะหลากหลายรูปแบบมีความแตกต่างกันออกไปตามหลักของการทำงาน ซึ่งงานกลึงจะแบ่งลักษณะงานออกเป็นสองลักษณะใหญ่คือ การกลึงปาดหน้าที่ต้องใช้งานมีดกลึงปาดหน้าซึ่งจะหมายถึงการตัดโลหะโดยให้มีดตัดชิ้นงานไปตามแนวขวาง (across the work) และการกลึงปอกที่จะหมายถึงการตัดโลหะโดยให้มีดตัดเคลื่อนที่ตัดชิ้นงานไปตามแนวขนานกับแนวแกนของชิ้นงาน

งานกลึง (TURNING) คืออะไร

งานกลึงเป็นกระบวนการขึ้นรูปงานในลักษณะของงานทรงกระบอกเป็นหลักประกอบด้วย งานกลึงปาดหน้า, งานกลึงปอก,งานกลึงเกลียว, งานกลึงคว้านรูใน, งานกลึงเซาะร่อง, งานกลึงตัด, รูปด้านล่างแสดงตัวอย่างของงานกลึงประเภทต่าง ๆ.เครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูปนงานกลึงคือ เครื่องกลึง (Lathe) มีทั้งเครื่องกลึงที่เป็นการควบคุมแบบธรรมดาหรือ manual และเครื่องกลึงที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ (CNC Lathe). นอกจากงานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เครื่องกลึงยังสามารถทำงานได้อีกหลายอย่าง เช่น เจาะรู (drill), ต๊าปเกลียว (Tapping)

ลักษณะการขึ้นรูปของงานกลึงนั้น ชิ้นงานจะยึดติดอยู่กับที่และหมุนอยู่บนหัวจับ (spindle) ของเครื่องกลึง หลังจากนั้นเครื่องมือตัด (cutting tool) จะเคลื่อนที่เข้าตัดชิ้นงานเป็นรูปร่างต่างๆ

งานกลึงจะแบ่งออกเป็นกี่ประเภท แบบใดบ้าง

งานกลึงปาดหน้า

การกลึงปาดหน้า เป็นลักษณะการกลึงปาดผิวหน้าตัดของชิ้นงานออก ชิ้นงานจะหมุน ส่วนมีดกลึงจะเคลื่อนที่เข้าออกในแนว Y (ด้านตั้งฉากกับ spindle) เพื่อปาดผิวหน้า และเลื่อนซ้ายขวาในแนวแกน Z (แนวเดียวกับ spindle) เพื่อควบคุมความยาว มีดที่ใช้ในการกลึงปาดหน้า

มีดกลึงที่ใช้ในการกลึงปาดหน้ามีหลายรูปทรงแต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ รูปทรงสามเหลี่ยมหรือมีดกลึงชนิด T (Triangle) มีมุม 60 องศา สามารถกลึงงานได้ 3 มุม การเลือกขนาดรัศมีปลายมีดกลึง (R) ขึ้นอยู่กับความละเอียดของผิวปาดหน้าที่ต้องการถ้าต้องการผิวละเอียดมากก็ใช้ R ที่มีขนาดเล็ก เช่น 0.2 – 0.4 mm.

งานกลึงปอก

การกลึงปอกเป็นลกัษณะของการกลึงชิ้นงานตามแนวขนานเพลาจับยึดของเครื่องกลึง ถ้าเป็นการกลึงปอกภายนอกขนาดเส้นผ่าศูนยก์ลางของชิ้นงานจะเล็กลง และถ้าเป็นการกลึงปอก ภายในหรือการกลึงคว้านรูจะทำให้เส้นผ่า ศูนย์กลางของรูมีขนาดโตขึ้น

มุมต่าง ๆของมีดกลึงที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้

  1. มุมเอียงคมตัด เป็นมุมเอียงเพื่อลดแรงตัดเฉือน ขณะที่มีดกลึงตัดเฉือนชิ้นงาน
  2. มุมหลบปลายมีด เป็นการลับหลบไม่ให้ปลายมีดเสียดสีกับผิวของชิ้นงาน
  3. มุมหลบข้าง เป็นมุมหลบเพื่อไม่ให้ด้านข้างมีดสีกับชิ้นงานทำให้คมตัดเฉือนชิ้นงานได้
  4. มุมรวมปลายมีด เป็นมุมที่เกิดจากการลับมุมเอียงคมตัดกับมุมหลบปลายมีด
  5. มุมคาย เป็นมุมที่มีดกลึงคายเศษโลหะออกด้านข้าง ได้แก่ มุมคายของมีดกลึงปาดหน้า มีดกลึงปอก ส่วนมุมคาย คือมุมที่อยู่ด้านบน แต่คายเศษโลหะเข้าหาลำตัดมีด ได้แก่ มีดกลึงตกร่อง มีดกัด เป็นต้น

การกลึงเกลียว

การกลึงเกลียวเป็นงานที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเศษที่ดี อายุการใช้งานเครื่องมือที่เสมอต้นเสมอปลาย และชิ้นงานมีคุณภาพสม่ำเสมอ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จ

เครื่องมือกลึงเกลียวใช้จำนวนรอบการกลึงทำให้เกิดเกลียวบนชิ้นงาน การแบ่งระยะกินลึกเต็มของเกลียวออกเป็นการตัดตื้นๆ หลายครั้งจะช่วยให้บริเวณรัศมีปลายคมตัดของเม็ดมีด ซึ่งเสียหายได้ง่าย ไม่ต้องรับภาระมากเกินไปจากการตัด

การกลึงเกลียวนอก

ส่วนใหญ่การกลึงเกลียวนอกเป็นงานที่ใช้เครื่องมือที่ง่ายและมีความซับซ้อนน้อยกว่าการกลึงเกลียวใน และสามารถนำวิธีต่างๆ มากมายมาใช้เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่ต้องการ

สิ่งที่ควรพิจารณาในการกลึงเกลียวนอกมีดังนี้:

  • อัตราป้อนงานต้องเท่ากับระยะพิทช์ของเกลียว
  • เลือกจำนวนรอบการตัดเกลียวและระยะกินลึกที่เหมาะสม
  • ลักษณะของเศษ เพื่อป้องกันเศษอุดตันบริเวณรอบเครื่องมือและ/หรือชิ้นงาน
  • ป้องกันการสั่นสะท้านที่เกิดจากระยะยื่นยาวของเครื่องมือและชิ้นงานทรงผอม
  • การวางแนวและความสูงกึ่งกลางของเครื่องมือ

การกลึงเกลียวใน

การกลึงเกลียวในเป็นงานที่ท้าทายและซับซ้อนกว่างานกลึงเกลียวน้อย เนื่องจากจำเป็นต้องมีการคายเศษที่มีประสิทธิภาพ และส่วนใหญ่ต้องใช้เครื่องมือที่มีขนาดยาวและทรงผอมกว่า

สิ่งที่ควรพิจารณาในการกลึงเกลียวในมีดังนี้:

การคายเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูตัน สามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือกลึงซ้ายสำหรับเกลียวขวาและในทางกลับกัน (การกลึงเกลียวแบบดึง) อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีโอกาสสูงที่จะทำให้เม็ดมีดขยับไปมาได้ใช้การป้อนเข้าด้านข้างแบบมีการปรับเพื่อให้เศษมีลักษณะขดเป็นวงก้นหอย ซึ่งช่วยให้นำไปยังทางเข้าของรูได้ง่าย

  • เลือกจำนวนรอบการตัดเกลียวและระยะกินลึกที่เหมาะสม
  • ป้องกันการสั่นสะท้านที่เกิดจากระยะยื่นยาวของเครื่องมือ
  • การวางแนวและความสูงกึ่งกลางของเครื่องมือ
  • หากต้องใช้เครื่องมือขนาดยาวเพื่อให้เข้าถึงได้ ให้ใช้คาร์ไบด์หรือเครื่องมือลดแรงสั่นสะท้านเพื่อลดแรงสั่นสะท้าน

Similar Posts